การได้รับความหวานจากอาหารดังกล่าวอีกก็จะได้รับพลังงานเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น
ในเด็กหากกินรสหวานมากจะทำให้ความอยากอาหารลดลง เบื่ออาหาร ถ้าได้รับน้ำตาลจากท๊อฟฟี่ ลูกกวาด เยลลี่ จะทำให้ฟันผุเร็วขึ้น
ดังนั้นจึงควรระมัดระวังการกินน้ำตาล
อย่าให้พร่ำเพรื่อ
ควรจำกัดพลังงานที่ได้จากน้ำตาลในแต่ละวันอย่างมากสุดไม่เกิน ร้อยละ 10 ของพลังงานที่ได้รับจากอาหารทั้งหมดและไม่ควรกินน้ำตาลเกินวันละ
40-55 กรัม หรือมากกว่า 4 ช้อนโต๊ะต่อวัน
เพราะพลังงานที่ได้จากน้ำตาลส่วนเกิน
จะไปเก็บสะสมไว้ในร่างกาย
หากได้รับเป็นประจำมีแนวโน้มว่า
จะเป็นโรคอ้วนได้
รสเค็มในอาหารไทย
ได้จากการเติมน้ำปลาและการใช้เกลือโซเดียมหรือเรียกกันทั่วๆ ไปว่าเกลือแกง
เกลือแกงเป็นตัวหลักของสารที่ให้ความเค็มของเครื่องปรุงรสที่ให้รสเค็มที่นิยมใช้กัน คือ
ซอสถั่วเหลือง ซีอิ๊วขาว ซีอิ๊วดำ เต้าเจี้ยว
และยังใช้ในการถนอมอาหารประเภทหมักดอง
ทำให้เก็บอาหารไว้กินได้นานขึ้น เช่น ผักดอง ผลไม้ดอง ไข่เค็ม ปลาร้า
ปลาเค็ม เนื้อเค็ม เต้าเจี้ยว เป็นต้น
นอกจากนี้เกลือโซเดียมยังแฝงมากับอาหารอื่นอีก เช่น
ขนมอบกรอบ ขนมขบเคี้ยว ขนมอบฟูแบบฝรั่ง
และผงชูรสที่ใช้ในการปรุงอาหาร
การกินอาหารรสเค็มจัดที่ได้จากเกลือโซเดียมหรือเกลือแกงมากกว่า 6 กรัมต่อวัน
หรือมากกว่า 1 ช้อนชาขึ้นไป
จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดความดันโลหิตสูง
ซึ่งจะยิ่งสูงขึ้น
เมื่อมีอายุขึ้น โดยเฉพาะคนที่ไม่ค่อยชอบกินผัก
ผลไม้ หรือกินน้อย กินอาหารรสเค็มจัด
มีโอกาสเป็นมะเร็งในกระเพาะอาหารด้วย
ดังนั้น การกินอาหารรสไม่จัด
จึงเป็นผลดีต่อสุขภาพ
ควรลดการเติมเครื่องปรุงรสที่ไม่จำเป็น
และหันมากินอาหารแบบไทยเดิมของเราที่มีรสกลมกล่อมละมุนละไม มีผักสมุนไพร
และกับข้าวที่เป็นเครื่องเคียงทั้งที่ทำจากเนื้อสัตว์ และผักต่างๆ
ทำให้ได้รับอาหารสมดุลย์ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น