ข้อ 9 งดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์


                ปัจจุบันคนไทยมีแนวโน้มการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอล์กอฮอล์เพิ่มสูงขึ้นพร้อมกับมีอุบัติการณ์ของโรคไม่ติดต่อกันเนื่องมาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่น่าตกใจยิ่ง  คือ  อัตราการตายอันเกิดจากอุบัติเหตุบนท้องถนนสูงขึ้นด้วยสาเหตุสำคัญในการเกิดอุบัติเหตุเกิดจากความมึนเมาจากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ขณะขับขี่ยานพาหนะ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์  
หมายรวมถึง  สุรา  เบียร์ ไวน์  บรั่นดี  กระแช่  ตลอดจนเครื่องดื่มทุกชนิดที่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่




                การดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นประจำจะมีโทษและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ  และสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินอย่างมากมาย  ดังนี้
-          มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง
-          มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคตับแข็ง เพราะพิษแอลกอฮอล์  มีฤทธิ์ทำลายเนื้อตับผู้ที่ดื่มเป็นประจำ จะมีโอกาสเป็นโรคตับแข็งสูงถึง เท่าของผู้ที่ไม่ดื่ม
-          มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคแผลในกระเพาะและลำไส้  และโรคมะเร็งของหลอดอาหาร ในรายที่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง  ส่วนมากจะลงท้ายด้วยโรคตับแข็ง  และโรคติดเชื้อเช่น  ปอดบวมและวัณโรค
-          ในรายที่ดื่ม  โดยไม่กินข้าวและกับข้าว  จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคขาดสารอาหารได้  ในทางตรงกันข้ามในรายที่ดื่มพร้อมกินกับแกล้มที่มีไขมันและโปรตีนสูง  จะมีโอกาสเป็นโรคอ้วนซึ่งมีโรคอื่นๆ ตามมามาก
-          มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง ฤทธิ์แอลกอฮอล์จะไปกดสมอง  ศูนย์ควบคุมสติสัมปชัญญะและศูนย์หัวใจ  จึงทำให้ขาดสติ เสียการทรงตัว สมรรถภาพการทำงานลดน้อยลง และทำให้เกิดความประมาท อันเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ซึ่งเป็นสาเหตุแห่งการตายของคนไทยในลำดับต้นๆ ในปัจจุบัน
-          ก่อให้เกิดการสูญเสียเงินทองและเกิดความไม่สงบสุขในครอบครัวได้ตลอดเวลา
ดังนั้น  ในรายที่ดื่มเป็นประจำจะต้องลดปริมาณการดื่มให้น้อยลงและถ้าหากงดดื่มได้จะเป็นผลดีต่อสุขภาพ  ส่วนในรายที่เริ่มดื่มและดื่มเป็นบางครั้ง  ควรงดดื่ม  และที่สำคัญต้องไม่ขับขี่ยานพาหนะขณะมึนเมาจากการดื่มเครื่อดื่มที่มีแอลกอฮอล์  สำหรับรายที่ไม่เคยดื่มเลย  ไม่ต้องริเริ่มเพราะท่านคือผู้ที่โชคดีที่สุดแล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น